โรคข้อกระดูกเสื่อม
โดย thuntaro
ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 25 มิ.ย. 2555.
โรคข้อกระดูกเสื่อม โรคข้อกระดูกเสื่อม โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis) เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยที่สุดและอาจพบร่วมกับโรคข้ออักเสบชนิดอื่น ได้ถือว่าเป็นความผิดปกติของข้อที่พบในช่วงย่างเข้าสู่วัยกลางคน และพบได้เพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นเรื่อยๆ โรคข้อเสื่อมพบบ่อยในตำแหน่งของข้อที่ต้องรับน้ำหนักมากเช่น ข้อเข่า ข้อสะโพก ข้อต่อกระดูกสันหลังเป็นต้น แม้ว่าโรคข้อเสื่อมจะพบในข้อที่ต้องรับน้ำหนัก แต่ก็สามารถพบที่ข้อต่างๆทั่วร่างกายได้ โดยเฉพาะข้อที่เคยได้ รับการบาดเจ็บ มีการติดเชื้อ หรือเคยมีข้ออักเสบนำมาก่อน ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดข้อเสื่อมมีอะไรบ้าง 1. ความอ้วน ข้อเสื่อมมักเกิดกับข้อที่ต้องรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า ข้อตะโพก เป็นต้น 2. ภาวะผิดปกติของข้อ ทำให้เกิดภาวะไม่สบกันของข้ออย่างเหมาะสมของผู้ที่มีโครงสร้างร่างกายผิดรูป 3. ภาวะบาดเจ็บ จากการกระทบกระแทกที่บริเวณข้ออย่างรุนแรงหรือเป็นซ้ำๆ เป็นระยะเวลานาน 4. อาชีพ ผู้ที่ทำงานที่ต้องใช้ข้อมาก เช่น งอเข่า ใช้แรงมือ เป็นต้น 5. กรรมพันธุ์ ผู้ที่แม่และพี่น้องทางแม่ที่เป็นโรคข้อเสื่อมที่บริเวณนิ้วมือจะมีโอกาส เกิดข้อเสื่อมที่บริเวณเดียวกันได้มากกว่าคนปกติทั่วไป 6. จากโรคข้ออักเสบชนิดอื่นๆ ที่มีผลทำให้เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมได้ ถ้าหากได้รับการรักษาล่าช้า ข้อใดบ้างที่พบภาวะข้อเสื่อมได้บ่อย 1. ข้อเข่า เป็นข้อที่พบบ่อยที่สุด ส่วนใหญ่พบในเพศหญิงวัยกลางคนและมีรูปร่างอ้วน ถ้าเป็นผู้ที่มีอายุน้อยมักมีประวัติการผ่าตัดหรือบาดเจ็บที่บริเวณข้อเข่า มาก่อน 2. ข้อนิ้วมือ มักเกิดที่ข้อนิ้วส่วนปลาย ข้อนิ้วส่วนกลางและข้อที่ฐานของนิ้วหัวแม่มือ มักมีปุ่มกระดูกที่ข้อและงอนิ้วลำบาก 3. กระดูกสันหลัง ส่วนใหญ่เกิดที่กระดูกคอระดับที่ 5 และกระดูกสันหลังส่วนเอวระดับที่ 3-5 มักเกิดร่วมกับการเสื่อมของหมอนรองกระดูกสันหลัง อาจมีสาเหตุจากการบาดเจ็บมาก่อน เมื่อนั่งหรือยืนนานๆอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ก้นและขา 4. ข้อหัวแม่เท้า อาจมีข้อผิดรูปและมีการอักเสบของข้อร่วมด้วย อาการข้อกระดูกเสื่อมเป็นอย่างไร ข้อเสื่อมจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ดังนี้ 1. ปวดข้อ ระยะแรกมีอาการปวดข้อหลังการใช้งาน และจะดีขึ้นเมื่อได้พัก เมื่อข้อเสื่อมมากขึ้นอาจปวดข้อตลอดเวลารวมทั้งเวลานอน 2. ตึงขัดที่ข้อ มักเป็นหลังตื่นนอนหรืออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานๆ และปวดตึงมากขึ้นในภาวะอากาศเย็น 3. เคลื่อนไหวข้อติดขัด ทั้งนื้ขึ้นกับตำแหน่งของข้อ เช่น ข้อนิ้วมือเสื่อมจะกำมือลำบาก ข้อเข่าและข้อตะโพกเสื่อมจะเดินลำบาก เป็นต้น 4. ข้อไม่มั่นคงแข็งแรง หลวมคลอน ผิดรูปร่างจากสูญเสียการทำงานของข้อ และมีการหลวมคลอนของข้อที่เสื่อมมาก หรืออาจได้ยินเสียงดังในข้อขณะที่ขยับข้อ 5. ข้อบวม จากกระดูกงอกบริเวณใกล้ข้อ เช่น ปุ่มกระดูกที่กระดูกปลายนิ้ว ข้อผิดรูปเกิดจากผลการทำลายกระดูกอ่อนที่ผิวของปลายกระดูกข้อ การรักษาข้อกระดูกเสื่อมมีอะไรบ้าง การรักษาข้อกระดูกเสื่อมมีจุดมุ่งหมายและวิธีการรักษาดังนี้ 1. การลดน้ำหนัก หรือการควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ถือเป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญที่สุดเพราะน้ำหนักเกินเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้อ กระดูกเสื่อม และทำให้การดำเนินโรคเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น เนื่องจากข้อต่างๆของร่างกายต้องรับแรงมากกว่าปกติ การลดน้ำหนักจะทำให้อาการปวดข้อดีขึ้น นอกจากนี้การออกกำลังกายที่เป็นแบบแอโรบิกช่วยทำให้สามารถควบคุมน้ำหนักตัว ไม่ให้มากเกินไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากกับข้อที่รับน้ำหนักโดยตรงความสำคัญของการออกกำลังกาย นอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อรอบๆ ข้อนั้นๆ มีความแข็งแรง และช่วยผ่อนแรงกระแทกที่กระทบกับข้อโดยตรงแล้ว ยังช่วยทำให้ข้อสึกหรอช้าลง หรือช่วยควบคุมแนวการรับน้ำหนักของข้อนั้นๆ ให้อยู่ในแนวที่ตรงขึ้น ทำให้ข้อรับน้ำหนักน้อยลง การออกกำลังกายโดยการบริหารกล้ามเนื้อหลังจะช่วยชะลอข้อสันหลังเสื่อมได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เช่นเดียวกับการบริหารข้อและกล้ามเนื้อบริเวณอื่นๆ 2. การใช้ยา ในปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาโรคข้อเสื่อมหลายรูปแบบ ทั้งชนิดทาภายนอก ฉีดเข้าข้อและรับประทาน ยาทาภายนอกได้แก่ เจลที่ทำจากส่วนประกอบของพริก ยารับประทานได้แก่ ยาต้านการอักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ในการบรรเทาอาการปวดและลดอาการข้อบวม สำหรับอาการปวดที่รุนแรงอาจต้องพึ่งยาบรรเทาอาการปวดกลุ่มอนุพันธ์ของ มอร์ฟีน สำหรับการฉีดยาสเตียรอยด์หรือน้ำไขข้อเทียมนั้นจะมีประโยชน์ในโรคข้อเสื่อม บางชนิดและในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น 3. การใช้วิธีทางกายภาพบำบัด เป็นการช่วยพยุงให้ข้อที่มีปัญหานั้น รับแรง หรือรับการเคลื่อนไหวที่น้อยลง ซึ่งช่วยให้การอักเสบลดน้อยลงได้ เช่น ปลอกคอ ประกับรัดเอว ปลอกข้อเข่า อุปกรณ์เหล่านี้มีหลายขนาดและหลายแบบ ต้องเลือกให้เหมาะสมกับขนาดและความจำเป็นของผู้ป่วย และแนะนำการสวมใส่ให้ถูกต้อง ประโยชน์ที่ได้คือจะลดอาการปวดข้อและสามารถใช้ข้อนั้นได้นานขึ้น แต่ก็มีข้อเสียคืออาจทำให้กล้ามเนื้อรอบข้อฝ่อลีบได้จึงต้องรู้จักบริหาร กล้ามเนื้อรอบข้อด้วย 4. การผ่าตัด การผ่าตัดเป็นมาตรการที่ใช้รักษาโรคที่เข้าสู่ระยะปานกลาง ถึงระยะท้าย โดยทั่วไปแล้ว การผ่าตัดไม่ว่าส่วนใดก็ตาม ต้องมีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดเสมอ และต้องประเมินให้ได้ว่า หลังจากการผ่าตัดแล้วคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยต้องดีขึ้นอย่างชัดเจน การผ่าตัดเปลี่ยนข้อและใส่ข้อเทียม สามารถแก้ไขความพิการและอาการปวดได้ทั้งหมด โดยทั่วไปแพทย์จะพิจารณาผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียมในผู้ที่มีการทำลายของข้อหรือ มีการสูญเสียการทำงานของข้อแล้วเท่านั้น อีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้ในบางประเทศเป็นวิธีการผ่าตัดโดยใช้กล้อง ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ในกรณีผู้ป่วยอายุน้อยที่มีข้อผิดรูป แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดแก้ไขแนวแรงในข้อเข่าหรือข้อสะโพกที่ผิดรูป สามารถลดอาการปวดข้อและช่วยชะลอการผ่าตัดเปลี่ยนข้อถ้าไม่รับการรักษาจะมีผล เสีย โดยจะมีความเจ็บปวดที่ข้อเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าเป็นมากๆข้อจะหลวมคลอน ข้อคดงอเบี้ยวหรือข้อพิการอาจทำให้ทำงานไม่ได้ ควรปฏิบัติตัวอย่างไร 1. ลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ข้อเสื่อมมากขึ้น หลีกเลี่ยงการกระทบกระแทกที่บริเวณข้อเสื่อม เช่น กรณีที่มีข้อเข่าเสื่อมให้หลีกเลี่ยงการคุกเข่า นั่งยองๆ ยกของหนัก วิ่งกระโดด 2. ลดน้ำหนัก จะทำให้อาการปวดของข้อเข่าและตะโพกดีขึ้น 3. กายภาพบำบัด บริหารข้อตามคำแนะนำอย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มสมรรถภาพให้ข้อเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น และป้องกันความพิการ 4. ใช้ความร้อนหรือความเย็นประคบข้อ เพื่อลดอาการปวดข้อ 5. ออกกำลังกาย แบบเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยให้กล้ามเนื่อที่ยึดข้อมีความแข็งแรง การเคลื่อนไหวและอาการปวดข้อดีขึ้น การออกกำลังกายในน้ำจะได้ผลดีในรายที่มีตะโพกเสื่อม 6. โช้เครื่องพยุงข้อ เพื่อผ่อนการลงน้ำหนักต่อข้อที่เสื่อม เช่น ไม้เท้า เครื่องพยุงการเดิน เป็นต้น 7. รับประทานยาตามกำหนด และถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้นควรปรึกษาแพทย์โดยเร็ว 8. ทำจิตใจให้สงบ และทำความเข้าใจในโรคที่เป็นอยู่พร้อมทั้งปรับตัวให้เหมาะกับสภาพของโรค จะเป็นผลทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น
ราคา: | 220 บาท | ต้องการ: | ขาย |
ติดต่อ: | thuntaro
| อีเมล์: | |
สภาพ: | ใหม่
| จังหวัด: | นครนายก |
| | | |
โทรศัพย์: | | |
มือถือ: | - | |
|
คำค้น: |
วิธีลดน่อง |
|
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
หน้า แสดง - จากทั้งหมด 4266 ประกาศ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
0 บาท |
|
|
|
2,200 |
|
|
|
650 บาท |
|
|
|
500 บาท |
|
|
|
150 บาท |
|
|
|
990 บาท |
|
|
|
11,500 |
|
|
|
16,000 บาท |
|
|
|
630 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
500 บาท |
|
|
|
630 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
1,775 บาท |
|
|
|
1,669 บาท |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |